ภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ ภาษีอีกประเภทที่เรียกเก็บจากการบริโภคของประชาชน โดยปัจจุบันอัตรา คือ 7 เปอเซนต์ ของราคาขายหรือ การให้บริการ 7% นั้นคำนวณมาจาก ( ภาษีมูลค่าเพิ่ม 6.3 % + ภาษีท้องถิ่น 0.7 % ) หากเราสังเกตรายจ่ายของกิจการของเรานั้น ในใบกำกับภาษีจะมี จำนวน ภาษีมูลค่าเพิ่มอยู่ในนั้นจำนวนเท่าใด ยกตัวอย่างเช่น สินค้าราคา 10,000 บาท และราคาภาษีมูลค่าเพิ่มเท่ากับ 700 บาท เราจะต้องจ่ายจำนวนทั้งสิ้น 10,700 บาท
เราจะสามารถรู้ได้ว่าเราจะต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อไหร่ให้ดูจาก
1.ธรุกิจของเราได้รับสิทธิในการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่
ผู้ประกอบกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย แต่มีสิทธิแจ้งขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่
- ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าพืชผลทางการเกษตร สัตว์ไม่ว่ามีชีวิตหรือไม่มีชีวิต ปุ๋ย ปลาป่นอาหารสัตว์ ยาหรือเคมีภัณฑ์ที่ใช้สำหรับพืชหรือสัตว์ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียน
- ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการ ซึ่งไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมายและมีรายรับไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี
- การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักรโดยท่าอากาศยาน
- การส่งออกของผู้ประกอบการในเขตอุตสาหกรรมส่งออกตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
- การให้บริการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อในราชอาณาจักร
2.ธรุกิจของเรานั้น มีรายได้เกิน 1.8 ล้านหรือไม่
หากว่ากิจการของคุณ ทำยอดขายระหว่างปี เกิน 1.8 ล้านบาท (เฉลี่ยต่อเดือน 150,000 บาท) ซึ่งกิจการจะถูกบังคับให้จด vat ทันที ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่ทำยอดขายเกิน
ซึ่งหากพบว่ากิจการมียอดขายเกิน 1.8 ล้านแน่ๆ ก็ควรรีบจด ภาษีมูลค่าเพิ่มตั้งแต่แรก เพราะว่ากิจการจะสามารถ ใช้สิทธิในการขอคืนในช่วงดำเนินกิจการได้ ในขณะเดียวกันจะช่วยกิจการลดต้นทุนจากการขอคืนภาษีได้ด้วย