
เมื่อเรารู้ว่า เงินได้ ของเรามีอะไรบ้าง ก็มาถึงขั้นตอนจำแนกประเภทของรายได้ ซึ่งจะมีทั้งหมดด้วยกัน 8 ประเภท เรามาดูกันว่าเงินได้ที่ว่านั้น มีอะไรบ้าง
เงินได้ประเภทที่ 1 คือ เงินได้จากตามสัญญาแจ้งแรงงาน เช่น เงินเดือน โบนัส เป็นต้น.
(เงินได้ประประเภทที่ 1 สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 50 % ของเงินได้ แต่ไม่เกิน100,000บาท (ในกรณีที่ผู้มีเงินได้ประเภทที่1 และ 2 ให้นำมารวมกัน แต่หักค่าใช้จ่ายได้ไม่เกิน 100,000บาท )
เงินได้ประเภทที่ 2 คือ เงินได้จากตำแหน่งงานที่ทำ หรือหน้าที่ เช่น ค่านายหน้า หรืองานที่รับจ้างตามสัญญาเป็นครั้งคราวไป
(เงินได้ประประเภทที่ 2 สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 50 % ของเงินได้ แต่ไม่เกิน100,000บาท (ในกรณีที่ผู้มีเงินได้ประเภทที่1 และ 2 ให้นำมารวมกัน แต่หักค่าใช้จ่ายได้ไม่เกิน 100,000บาท )
เงินได้ประเภทที่ 3 คือ เงินได้ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ หรือค่าความนิยม ค่าลิขสิทธิ์ หรือเงินได้ที่มีลักษณะรายปีอันมาจากพินัยกรรม นิติกรรมอื่น หรือคำพิพากษา
(เงินได้ประเภทที่ 3 สามารถนำมาหักค่าใช้จ่ายได้ สูงสุดที่ 100,000 บาท)
เงินได้ประเภทที่ 4 คือ ดอกเบี้ย เงินปันผล(จากหุ้น) เงินส่วนแบ่งกำไรจาก cryptocurrency ผลประโยชน์จากการโอนหุ้น เพิ่มทุนต่าง ๆ
ไม่สามารถนำมาหักค่าใช้จ่ายได้
เงินได้ประเภทที่ 5 คือ เงินได้จากการเช่าทรัพย์สินต่าง ๆ
การหักเงินได้ประเภทที่ 5 มีดังนี้
- บ้านโรงเรือนสิ่งปลูกสร้าง หักค่าใช้จ่ายได้ 30 %
- ยานพาหนะ หักค่าใช้จ่ายได้ 30 %
- ที่ดินที่ใช้ในการเกษตร หักค่าใช้จ่ายได้ 20 %
- ที่ดินที่ไม่ได้ใช้ในการเกษตร หักค่าใช้จ่ายได้ 15%
- ทรัพย์สินอื่นหักค่าใช้จ่ายได้ 10%
เงินได้ประเภทที่ 6 คือ เงินได้จากวิชาชีพต่าง ๆ เช่น วิศวกรรม สถาปัตกรรม การบัญชี แพทย์ หรือ วิชาชีพอื่นที่กฎหมายกำหนด
- การประกอบโรคศิลปะ หักค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้ 60%
- กฎหมาย วิศวกรรม สถาปัตยกรรม บัญชี ประณีตศิลปกรรม หักค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้ 30%
เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 7 คือ เงินได้ที่มาจากการรับเหมา โดยผู้รับเหมาจะต้องเตรียมจัดหาสัมภาระในส่วนที่สำคัญ เช่น การรับเหมาก่อสร้าง
- เงินได้ประเภทที่ 7 หักได้ตามจริง ต้องมีหลักฐานแนบ และตามอัตราเหมา 60%
เงินได้ประเภทที่ 8 คือ เงินได้จากการทำธรุกิจ การพาณิชณ์ การเกษตร การอุตสหกรรม การขายอสังหาริมทรัพย์
- เงินได้ประเภทที่ 8 สามารถหักได้ทั้งตามจริงและอัตราเหมา 60% จะมีทั้งหมด 43 ประเภทเงินได้ ซึ่งสามารถดูรายละเอียดได้ที่ เว็บไซต์กรมสรรพากร
สามารถติดต่อสอบถามเรื่อง#บัญชีและภาษีได้ที่ 038-981-777 / Line official account : @sappakit หรือ อาคารสำนักงาน #สรรพกิจธรุการ #ฉะเชิงเทรา